|
|
ชื่อ Thai Name
|
หญ้าหนวดแมว Ya nuat maeo |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name
|
Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. |
|
วงศ์ Family
|
LAMIACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
|
||
ลักษณะ Characteristics
|
ไม้ล้มลุก สูง 30-80 ซม. ลำต้นรูปเหลี่ยมมีขนสั้น ๆ ปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ขอบใบหยัก ดอกช่อ กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมม่วงอ่อน ผลแห้งไม่แตก สีน้ำตาลดำ |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution
|
พบชอบขึ้นที่ชื้น มีแดดรำไรในป่าริมลำธาร หรือน้ำตก ออกดอกและติดผลราวเดือนกันยายนถึงตุลาคม
|
||
ประโยชน์ Utilization
|
ลำต้นและใบ ขับปัสสาวะ รักษาโรคไต โรคนิ่ว แก้ปวดเมื่อย รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันโลหิต ขับกรดยูริก ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้ ในทางสมุนไพร ราก รสจืด ขับปัสสาวะ วิธีใช้ “ขับนิ่วก้อนเล็ก” |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ น. 216 - สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ น. 158 - สมุนไพรไทย มรดกไทย น. 246 - สมุนไพรไทย น. 320 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5) น. 80 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 6 น. 117-118 - สมุนไพรอภัยภูเบศร สืบสานภูมิปัญญาไทย น. 90-91 |
||
พิกัด UTM |
47P 0771065 m.E 1521554 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ดและการปักชำ ควรเพาะในดินที่มีแดดส่องรำไรก็พอ ควรปลูกห่างราว 1 ฟุต ไม่นาน นักก็จะเจริญงอกงามดี
|
||
ข้อควรระวัง ผู้เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ห้ามรับประทาน เนื่องจากมีโปตัสเซียมสูง มีผลต่อการทำงานของหัวใจและไต
|