|
|
ชื่อ Thai Name |
ขนุน Khanun |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Artocarpus heterophyllus Lam. |
|
วงศ์ Family |
MORACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ขนุนละมุด khanun lamut (ทั่วไป) ขะนู kha-nu (ชอง-จันทบุรี) ขะเนอ kha-noe (เขมร) ซีคึย si-khuei (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นะยวยซะ na-yuai-sa (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) นากอ na-ko (มลายู-ปัตตานี) เนน nen (ชาวบน-นครราชสีมา) ปะหน่อย pa-noi (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะหนุน ma nun (ภาคเหนือ) ลาง lang (เงี้ยว-ภาคเหนือ) หมักหมี้ mak mi (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากกลาง mak lang (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) Jack fruit tree |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผล มีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกช่อ แยกเพศ อยู่ร่วมต้น ผลรวม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย ออกดอก จะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม และเดือนเมษายน-พฤษภาคม |
||
ประโยชน์ Utilization |
ราก รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต ยาง รักษาแผลบวมอักเสบ แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ใบ แก้ปวดหู รักษาแผลมีหนอง ผล แก้ท้องเสีย แก้ตกเลือดในสตรี เมล็ด บำรุงน้ำนมหลังคลอด แก้ปวดท้อง ขนุนจัดเป็น 1 ใน 9 ไม้มงคลของไทย ไม้ขนุนมีความหมายว่า การช่วยหนุนบารมี เงินทอง ความร่ำรวย ให้ดียิ่งขึ้น มีผู้ให้การเกื้อหนุนจุนเจือ โดยนิยมปลูกไว้หลังบ้านด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ วิธีใช้ : ลดน้ำตาลในเลือด โดยใช้ใบขนุนแก่ 5-10 ใบ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น ส่วนที่ให้สี : แก่นต้น ให้สีเหลือง Root: relief skin diseases, antidiarrheal |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 362-366 - สมุนไพรไทย ตอนที่ 7 น. 206-207 |
||
พิกัด UTM |
47P 0770960 m.E 1520932 m.N 47P 0770828 m.E 1521048 m.N 47P 0770884 m.E 1520990 m.N 47P 0770927 m.E 1520994 m.N 47P 0771035 m.E 1521058 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด การติดตา และการทาบกิ่ง |
||