|
|
ชื่อ Thai Name |
คงคาเดือด Khong kha dueat |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk. |
|
วงศ์ Family |
SAPINDACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
ช้างเผือก chang phueak (ลำปาง) ตะไล talia (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ตะไลคงคา talai khong kha (ชัยนาท) สมุยกุย samui kui (นครราชสีมา) หมากเล็กหมากน้อย mak lek mak noi (ภาคตะวันตกเฉียงใต้) Hop tree |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 8-20 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตก กิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ หรือบางใบมีรอยหยักห่าง ๆ ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ดอกย่อยสีขาว มีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาลอมแดง ผล ทรงรี ปลายผลและขั้วผลแหลม มีปีก 3 ปีก ผลสด สีเขียว เมื่อแห้ง สีน้ำตาล และแตกได้ เมล็ดมีขนปกคลุม |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
-
|
||
ประโยชน์ Utilization |
เปลือกต้น รสเย็นขมฝาด แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ แก้คันแสบร้อนตามผิวหนัง ช่วยเจริญอาหาร เนื้อไม้ รสเย็นขมฝาด แก้แสบตามผิวหนัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร วิธีใช้ “แก้คัน แก้แสบร้อนตามผิวหนัง” นำเปลือกต้นคงคาเลือดมา 300 กรัม ล้างให้สะอาด ต้มในระดับน้ำ 2 เท่า จากตัวยา ต้มเดือด 10-15 นาที กรองกากออก ปล่อยให้เย็น ใช้ชโลมอาบที่ร่างกายหลังอาบน้ำ หรือลงไปแช่ 10-15 นาที ใช้เมื่อมีอาการ Stem and leaf: anthelmintic, antipyretic, cough remedy |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สยามไภษัชยพฤกษ์ น. 36 - สมุนไพรไทย น. 72 - สารานุกรมสมุนไพร น. 144
|
||
พิกัด UTM |
47P 0770933 m.E 1521692 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ข้อควรระวัง ไม่มีรายงานการวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ |
||
|