|
|
ชื่อ Thai Name |
ชงโค Chong kho |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Bauhinia purpurea L. |
|
วงศ์ Family |
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กะเฮอ ka-hoe, สะเปซี sa-pe-si (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เสี้ยวดอกแดง siao dok daeng (ภาคเหนือ) เสี้ยวหวาน siao wan (แม่ฮ่องสอน) Orchid tree, Purple Bauhinia |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 10 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบเกือบกลม ปลายใบเว้า โคนใบมนเว้า ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดดอกย่อยสีชมพูเข้ม ผล เป็นฝักแบน ขอบขนาน ฝักแก่แตกสองซีก |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนรวมไปถึงฮ่องกงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
||
ประโยชน์ Utilization |
เปลือกต้น แก้ท้องเสีย ใบ รสเฝื่อน แก้ไอ แก้ไข้ พอกฝี ดอก รสเฝื่อน เป็นยาระบาย ดับพิษไข้ ราก รสเฝื่อน เป็นยาระบาย ระบายพิษไข้ และช่วยเจริญอาหาร Root: carminative, laxative, appetizer ; Stem bark: antidiarrheal
วิธีใช้ “เป็นยาระบาย” ใช้เปลือกต้น ต้มกับน้ำท่วมตัวยา |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไทย น. 99 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (1) น. 739 - สมุนไพรไทย น. 99 - สารานุกรมสมุนไพร น. 176 |
||
พิกัด UTM |
101º 30´ 22.4" E 13º 45´ 05.6" N 47P 0771085 m.E 1521049 m.N 47P 0770780 m.E 1520868 m.N 47P 0771676 m.E 1522525 m.N 47P 0772329 m.E 1521200 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด การเพาะปลูกจึงนิยมปลูกในที่มีแสงแดดตลอดทั้งวัน |
||
ข้อควรระวัง ยังไม่พบผลการศึกษาความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 3 เดือน สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยรองรับ
|