พรรณไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนนทบุรี
|
|
ชื่อ Thai Name |
นนทรี Non si |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name |
Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K. Heyne
|
|
วงศ์ Family |
FABACEAE |
||
ชื่ออื่น ๆ Other Name |
กระถินแดง กระถินป่า (ตราด) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน) Copper pod, Yellow poinciana, Yellow flame |
||
ลักษณะ Characteristics |
ไม้ต้น สูง 8-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมดำ ค่อนข้างเรียบ แตก กิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบและปลายยอด สีเหลือง กลีบดอกย่น ขอบกลีบเกยกัน ผล เป็นฝักแบน รูปรี ปลายฝักและโคนฝักเรียวแหลม สีเขียว เมื่อแห้งสีน้ำตาล |
||
การกระจายพันธุ์ Distribution |
พบขึ้นตามป่าชายหาด แลป่าเบญจพรรณชื้น ๆ ทั่วไป ที่ความสูงจากระดับทะเล 10-300 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ
|
||
ประโยชน์ Utilization |
เปลือกต้น รสฝาดร้อน ขับโลหิต กล่อมเสมหะ ขับผายลม แก้ท้องร่วง แก้บิด ฝาดสมาน สมานแผล แก้ไข้ทับระดู เคี่ยวน้ำมัน ทาแก้ตะคริว แก้กล้ามเนื้ออักเสบ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต และตกตะกอนเม็ดเลือดแดง
วิธีใช้ “แก้ท้องร่วง ท้องเสีย” นำเปลือกต้นมาพอประมาณ ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำสูงกว่าตัวยา 3 เท่า เคี่ยวจากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือ 1 ส่วน ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ ส่วนที่ให้สี : เปลือกต้นให้สีเหลืองอมน้ำตาล |
||
แหล่งข้อมูล Reference |
- สมุนไพรไทย น. 149 - สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2) น. 450-451 |
||
พิกัด UTM |
13º 45´ 07.0" N 101º 30´ 18.1" E 47P 0771714 m.E 1522416 m.N |
||
คิวอาร์โค้ด QR Code |
|
ขยายพันธุ์โดย : การเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน |
||
ข้อควรระวัง ยังไม่มีงานวิจัยรองรับเรื่องความปลอดภัยหรือความเป็นพิษ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรทุกชนิดติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
|